วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขนมข้าวเหนียวอัดหรือเหนียวเขียว

ขนมข้าวเหนียวอัดหรือเหนียวเขียว

 ส่วนผสม
  แบ่งออกเป็น  ๒ ส่วน คือ ส่วนที่เป็นข้าวเหนียวอัดหรือเหนียวเขียว และส่วนที่เป็นสังขยา    การทำข้าวเหนียวอัดหรือเหนียวเขียว มีสูตรคือ ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ๑ ลิตร มะพร้าว ๑ กิโลกรัม ดอกอัญชัน ๑/๔ กรัม เกลือป่น ๒ ช้อนชา และสารส้ม ๑/๔ ช้อนชา

วิธีปรุง
          ข้าวเหนียวอัด  มีลำดับขั้นตอนคือ  แบ่งข้าวเหนียวออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรกนำมาแช่น้ำเปล่าไว้ เทน้ำร้อนลงในดอกอัญชัน ตั้งทิ้งไว้จนได้น้ำเป็นสีน้ำเงินเข้ม แล้วนำมากรองเอาเฉพาะน้ำ น้ำข้าวเหนียวส่วนที่สองแช่ลงในน้ำสีดอกอัญชัน แช่ข้าวเหนียวทั้งสองส่วนไว้เป็นเวลา  ๘ ชั่วโมง นำข้าวเหนียวแต่ละส่วนใส่ลงในรังถึง (หวดสำหรับนึ่งข้าวเหนียว) ไม่ให้ปนกัน นึ่งบนเตาใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที คั้นเอาหัวกะทิ แล้วใส่เกลือป่นและสารส้มลง แล้วนำข้าวเหนียวที่นึ่ง

แกงตอแมะห์

แกงตอแมะห์


ส่วนผสม

- ปลาสำลีหั่นเป็นชิ้นพอคำ 500 กรัม    กระเทียมสับ 1 ช้อนโต๊ะ            หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ        - น้ำมันพืช                       เครื่องแกงตอแมะ 3 ช้อนโต๊ะ    น้ำมะขามเปียก 1/4 ถ้วย

- หัวกะทิ 1 ถ้วย                                    หางกะทิ 2 ถ้วย                          น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ

 มะเขือยาวหั่นเป็นชิ้นพอคำ 3 ลูก       เกลือ พอประมาณ                       ใบหมุย พอประมาณ

 วิธีทำ

1 นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมันลงไป พอร้อนใส่หอม กระเทียมลงไปผัดพอเหลือง และหอมตักออกพักไว้ 2 ในกระทะเดียวกันใส่หัวกะทิลงไปผัดกับน้ำมันจนแตกมัน แล้วใส่เครื่องแกงตอแมะลงไปผัดให้เข้ากัน 3 เทหางกะทิลงไป ปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำมะขามเปียก และเกลือ พอเดือดใส่มะเขือยาวลงไป ต้มจนมะเขือยาวสุกจึงใส่ปลา และใบหมุยลงไป ต้มต่อจนปลาสุก ชิมรสอีกครั้งแล้วใส่กระเทียมเจียว และหอมเจียวลงไป คนให้เข้ากัน ยกลงจากเตาตักเสิร์ฟร้อน ๆกับข้าวสวย





โรตี

โรตี



 ส่วนผสม

แป้งสาลีอเนกประสงค์ 1 กิโลกรัม    น้ำสะอาด 2 ถ้วยตวง  น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ    

มาการีน 1 ช้อนโต๊ะ   ไข่ไก่ฟองเล็ก 2 ฟอง  นมข้นหวาน 2 ช้อนโต๊ะ เกลือป่น 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีผสมแป้ง1. ผสมน้ำ น้ำตาลทราย เกลือป่น นมข้นหวาน และไข่ไก่ ลงในภาชนะผสม
2. คนให้ส่วนผสมเข้ากันด้วยไม้ตีไข่
3. ใส่แป้งสาลีที่ร่อนแล้วลงไป
4. ใช้มือขยำให้ส่วนผสมเข้ากัน ถ้าแป้งแห้งเติมน้ำสะอาดได้เล็กน้อยจนรู้สึกว่าแป้งนุ่ม
5. นำแป้งมานวดบนโต๊ะและใส่มาการีน
6. แป้งที่นวดได้ที่แล้วจะมีลักษณะเนียน
7. นำมาปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ให้มีขนาดเท่า ๆ กัน ส่วนผสมนี้จะได้ประมาณ 40-60 ก้อน แล้วแต่ขนาดของก้อน
8. ทาด้วยมาการีนหรือน้ำมันพืช
9. คลุมด้วยพลาสติก หมักไว้ประมาณ 15 นาที จึงนำมาตีเป็นแผ่น
เอามาฟัดให้เป็นแผ่นแบนๆ

 
เอาไปทอดบนกะทะที่เตรียมไว้ โดยใส่เนยไปพร้อมๆกับแผ่นโรตี

 
เมื่อทอดเสร็จก็เอามาใส่ในจานที่เตรียมไว้รับประทานหรือเสริฟให้ลูกค้าได้เลย

ชาชัก

อาหารที่โดดเด่นในจังหวัดสตูลที่ใครๆต่างก็รู้จัก  คือ

ชาชัก


“Teh Tarik” หรือ “เตฮ์ ตาเระ”สำเนียงเสียงถิ่นมลายูที่เรียกขาน หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “ชาชัก” เป็นกระบวนการชงชานมให้เกิดฟองโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยี แต่มาจากสองแขนที่แข็งขัน สลับรับ-ส่งส่วนผสมในกระบอกชงให้ตรงจังหวะ ตามแรงโน้มถ่วงของโลกให้กลายเป็น “ชา” (เตฮ์) ที่ถูก “ชักกะเย่อ” (ตาเระ) ที่มีรสละมุนของฟองนมตามแบบฉบับการชงชาที่พบในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าประเทศใดเป็นต้นแบบในการชง “ชาชัก” แต่พบว่ามีร้านชาชักอยู่ทั่วไปทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์และภาคใต้ของไทย
              ส่วนผสม : มีส่วนผสมระหว่างชาสำเร็จรูปกับนมข้น และนมสด หรือนมแพะ ชงกับน้ำร้อนเดือด
              วิธีการชง : เมื่อใส่ส่วนผสมน้ำชาเคี่ยว นมสด นมข้นหวาน ตามสัดส่วนลงในกระบอกชา ซึ่งมี 2 กระบอก ผู้ชงชาหรือชักชาจะถือกระบอกชาไว้ในมือทั้ง 2 ข้าง ๆ ละใบ จากนั้นจะเทชาจากมือบนสู่มือล่าง เป็นการเทชากลับไป- กลับมาระหว่างมือทั้งสองข้าง โดยให้มือที่ถือกระบอกชาด้านหนึ่งอยู่ระดับสูงเหนือศีรษะสุดปลายแขน ค่อย ๆ เทชาลงมาเป็นสาย น้ำชาจะพลิ้วสวยงาม ทิ้งตัวดิ่งสู่กระบอกชาใบล่างที่คอยรองรับอยู่ ทำแบบนี้สลับไปมา 2-3 ครั้ง จนส่วนผสมทั้งหมดกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ก็จะได้ชาที่มีฟองอากาศ หอมกรุ่น รสชาตินุ่มกลมกล่อมยิ่งขึ้น
             ส่วนกรรมวิธีในการชงชาชักนั้นเป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่ต้องอาศัยความชำนาญเป็นพิเศษ ยิ่งชักสูงยิ่งดี ซึ่งจะทำให้ส่วนผสมต่างๆเข้ากันได้ดี ชาที่ได้จะมีรสชาติกลมกล่อม กรรมวิธีในการชงชาชักให้หอมกรุ่นเย้ายวนชวนชิมยึดหลักธรรมชาติตามกฎแรงโน้มถ่วง ของเหลวย่อมไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ ผู้ชงชาเองก็ต้องฝึกทักษะและเทคนิคพิเศษอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้ชานั้นมีรสชาติหอมหวานกลมกล่อม และเกิดฟองนมที่นุ่มละมุนลิ้นหลังการชง
              จะว่าไปแล้วชาชักก็คล้ายชาเย็นในบ้านเราเพียงแต่มีฟองนมเพิ่มเข้ามาเท่านั้นเอง บี๋เป็นคนหนึ่งที่ติดชาเย็นมากๆ ต้องทานเกือบทุกวันค่ะ ที่หาดใหญ่และสงขลาก็มีชาชัก ชาเย็นอร่อยหลายเจ้าค่ะ สำหรับชาชักที่เมืองไทยเปรียบเทียบกับชาชักที่มาเลย์หรือสิงคโปร์บี๋ว่าแตกต่างกันเล็กน้อย ของเค้าจะรู้สึกรสชาติเบาๆ กว่าของเรา ไม่หวานมากและไม่เข้มข้นมาก หอม รสนุ่มนวล ทานแล้วรู้สึกสบายๆ ผ่อนคลายค่ะ โดยส่วนตัวบี๋ว่าอร่อยกว่าของเราค่ะ ปกติบี๋เป็นคนที่ชอบทานอะไรเย็นๆ แบบใส่น้ำแข็งเยอะๆ แต่เวลาทานชาชักจะชอบดื่มแบบร้อนมากกว่าแบบเย็นเพราะจะได้ลิ้มรส และสัมผัสความนุ่มละมุนลิ้นของฟองอากาศเนื่องด้วยว่าเวลายกแก้วดื่มปากของเราจะสัมผัสกับฟองอากาศตรงปากแก้วซึ่งทำให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนที่จะได้ลิ้มรสของชาค่ะ ส่วนแบบเย็นจะเพิ่มน้ำแข็งซึ่งน้ำแข็งจะทำให้ฟองอากาศน้อยลงและไปเจือจางรสชาติ ทำให้เสียรสและอรรถรสในการดื่ม